คงไม่มีประโยชน์หากผมจะใช้พื้นที่สิบย่อหน้าสาธยายอิทธิพลของ
"สเตฟานี โจแอนน์ แอนเจลินา เจอร์มาน็อตตา" หรือ "เลดี้
กาก้า" ต่อวัฒนธรรมและระบบสังคมนิยมในปัจจุบัน
(ผมมั่นใจว่าผู้อ่านคงรู้จักเลดี้กาก้าไม่มากก็น้อยจึงสนใจบทความชิ้นนี้)
ตัวผมเองนอกจากจะเป็นแฟนเพลงของเธอแล้วผมยังสนใจบทบาททางสังคมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า
“ซุปเปอร์สตาร์” คนนี้อย่างมาก ประทับใจตั้งแต่ตอนเธอกล่าวสุนทรพจน์วันNational
Rally for Gay Rightsที่หน้าทำเนียบขาวตอนปี2009, การก่อตั้งมูลนิธิ Born This
Way, ตามอ่านtweet (ถึงแม้ว่าตัวเองจะไม่ได้เล่นtweeter)
ขนาดที่เคยเขียนถึงเธอในวิทยานิพนธ์ว่าด้วยความเกี่ยวโยงของคุณลักษณะในศิลปะการแสดงสด(performance
art)และการรักษาด้วยพิธีกรรม(healing rituals)เมื่อครั้นยังเป็นนักศึกษาปริญญาโทโน้น…
ดังนั้นไม่ต้องบอกก็คงเดากันได้ว่า
เมื่อครั้น Born This Way Ball ประกาศฤกษ์มาแพร่พันธุ์ที่ฝั่งยุโรปแล้วไซร้
ผมจึงเป็นหนึ่งในผู้คนหลายหมื่นที่รีบจองตั๋วเจ็ดเดือนล่วงหน้าอย่างตาลีตาเหลือกไปโดยปริยาย
ด้วยเหตุที่ว่า
ถึงแม้อัลบั้มนี้จะหวือหวาสู้ Fame:Monsterไม่ได้ เพลงไม่ติดหู
เอ็มวีเวิ้นเวอะเยอะแยะ
แถมท่าเต้นก็แสนยากจนเต้นตามไม่ค่อยทัน…แต่ลึกๆแล้วผมก็ยังรู้สึกว่าตัวเองเป็น
“Little Monster” อยู่ไม่มากก็น้อย…
ขอบอกว่าในวันคอนเสิร์ตผมได้เจอกับอะไรหลายๆอย่างที่ไม่คาดคิด
เริ่มจากที่ตั๋ว
ด้วยความที่ฝากเพื่อนจอง
แทนที่จะเป็นตั๋วยืนโยกเบียดเสียดกับชาวประชาตามอารมณ์มหรสพขนาดใหญ่…กลับเป็นตั๋วนั่ง(!!?!?)
เพราะคุณเพื่อนหวังดีกลัวว่าถ้าไปยืนอาจจะมองเห็นMother Monsterไม่ได้ชัดเจน
“ถ้าไปได้ยืนหลังคนตัวสูงเดี๊ยวเธอจะไม่สนุกนะ”…เอ่อ
นี่มันคอนเสิร์ตหรือบัลเลต์ครับที่รัก?!
คือเธอกะจะไม่ให้ฉันได้โยกย้ายตามจังหวะบ้างเลยรึ?!
ด้วยเหตุนี้ทำให้นอกจากจะไม่ได้คลุกวงในกับเหล่าเด็กเอาะๆ
ผมยังได้มานั่งอยู่ในชั้นสองของTwickenham Staduim ล้อมรอบไปด้วยพ่อแม่ผู้ปกครอง
คนสูงอายุที่ยืนไม่ไหว และแฟนๆ”ชนชั้นสามัญ”ของกาก้า… กล่าวคือ
เป็นปทุชนคนทั่วไปที่ร้องเพลงกาก้าได้สองเพลงครึ่ง (Just Dance, Poker Face
กับครึ่งนึงของ Bad Romance) แบบไม่ได้อินอะไรมาก ซื้อตั๋วมาดูตามกระแส
วันจันทร์จะได้กลับไปโม้กับเพื่อนๆได้ว่า “เธอ
เมื่อวันก่อนฉันไปดูคอนเสิร์ตเลดี้กาก้ามาแหละ แรงส์ป๊ะละ?”…นอกจากนี้
ในขณะที่กลุ่มคนดูฮาร์ตคอร์(สังเกตได้จากในmonsterpit)ล้วนตั้งใจขุดซากวัตถุดิบและอุปกรณ์มาสรรค์สร้างเสื้อผ้าหน้าผมให้ดูอลังการณ์ประหนึ่งว่า
เป็นหางเครื่องของกาก้าซะเอง…ส่วนการแต่งตัวของคนดูในชนชั้นสามัญรอบๆตัวผมนั้น
ไม่สามารถบอกได้ว่าพวกเขาแต่งตัวมาดูโชว์หรือยังอยู่ชุดทำงานจากออฟฟิศกันแน่!
อย่างไรก็ตามผมก็ยังจัดเต็มเป็นกำลังใจให้กับกาก้าแบบไม่ย่อท้อ พลางคิดในใจว่า
“แต่งคนเดียว เต้นคนเดียว ตูก็มันส์ได้ฟระ”…
เวลาประมาณสองทุ่มครึ่ง
กาก้าขี่ม้ายูนิคอร์นสีดำขึ้นเวทีมาในชุดออกแบบโดย จอร์จิโอ อาร์มานี ร้องเพลง
Highway Unicorn เป็นการประกาศเริ่มคอนเสิร์ตอย่างเป็นทางการ...
ปรากฏว่าพอเอาเข้าจริงเหล่าคนดูตั๋วนั่งก็ยืนบ้างโยกบ้างอยู่เหมือนกัน
ทำผมอุ่นใจขึ้นมานิด แต่ที่ทำให้ใจหายก็คือแม้คอนเสิร์ตจะถูกประกาศว่า “sold out”
แต่พื้นที่บริเวณตั๋วยืนกลับเหลืออยู่เกือบครึ่ง!
นี่อาจจะเป็นเพราะระบบปล่อยตั๋วที่ไม่มีประสิทธิภาพ
หรืออาจเป็นเพราะคนที่ซื้อตั๋วBallรอบนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ”เข้าใกล้”กาก้าขนาดนั้น?...
ตลอดสองชั่วโมงกว่าๆ
ผมรู้สึกว่าเลดี้กาก้าสื่อสารกับคนดูแบบ”สองมาตรฐาน”
กล่าวคือ เธอไม่ค่อยสนใจคนตั๋วนั่งรอบนอก
แต่กลับให้ความสำคัญกับเด็กๆในmonster pit ของเธอเสียมากกว่า “its like 1976 out
here!” เธอพูดชมแฟนเพลงที่แต่งตัวธีม ร็อค แอนด์ โรล อยู่รอบเวที
แต่ในความเป็นจริงคนเกินครึ่งแทบไม่ได้แต่ตัวอะไรเลย
ยิ่งรอบตัวผมแอบดูเหมือน1998ด้วยซ้ำ เพราะมีแต่ เสื้อยืดกางเกงแสล็คทั้งนั้น
แต่Mother Monsterคงมองไม่เห็น ชีมัวแต่เลือกคนนั้นคนนี้ให้ไปหลังเวทีกับเธอ
บ้างก็หยิบสมุดภาพที่แฟนๆทำให้ขึ้นมาเปิดดู แถมเอาเสื้อ ART POP
(ชื่อแนวอัลบั้มใหม่)ที่แฟนเย็บให้มาใส่ ทำเอาคนหน้าเวทีกรี๊ดกันเป็นบ้าเป็นหลัง ต่อมาซักพักเธอเริ่มเรียกคนดูให้ขึ้นไปแจมบนเวที
เริ่มจากเด็กน้อยผมสีม่วงที่กาก้าบอกว่า “ฉันจำเธอได้
เธอคนนี้ไปนอนอยูหน้าโรงแรมชั้นเป็นอาทิตย์!”
เด็กสาวกอดศิลปินน้ำตาไหลเป็นภาพสุดประทับใจของค่ำคืนนั้น
เธอได้นั่งข้างกาก้าขณะที่เล่นเพลงใหม่ “Princess D.I.E.” อุทิศให้กับเลดี้ไดอาน่าและเอมี่
ไวน์เฮาส์ นอกจากนี้ยังเล่นเพลง “Imagine” ของ จอห์น เลนนอน
เป็นเสมือนการคืนชีพอุดมคติเพื่ออิสระและแนวคิดฮิปปี้ให้กับยุคสมัยนี้อีกครั้ง
หลังจากเพลง
Schiße
กาก้าบอกลาผู้คนว่านี่เป็นเพลงสุดท้าย
ในใจผมนึกอยู่แล้วว่าเธอต้องมีEncoreต่ออีกซักสองเพลงและผู้คนคงจะอยู่จนจบ
แต่ปรากฏว่าพอมองไปรอบๆ คนนั้นหายไปเกือบครึ่งแล้ว! (แอบได้ยินคนข้างๆบ่นว่า “aw
it’s a shame she didn’t sing poker face”) และถึงแม้ตอนที่เธอโผล่มาเล่นเพลง Edge
Of Glory และ Mary The Night ผู้คนก็ยังคงเดินออกจากสเตเดีียมกันเป็นแถว!
ไม่ทราบว่าอยากจะรีบไปเพราะจะได้เดินทางสะดวก หรือว่าขี้เกียจอยู่
หรือว่าจะเป็นเหตุผลอื่นๆเกินจินตนาการ แต่ผมเองแอบเสียใจอยู่คนเดียว
เพราะนอกจากจะเป็นการไม่ให้เกียรติศิลปินแล้ว
คนเหล่านี้ยังทำลายบรรยากาศของงานสำหรับคนที่เหลืออีกด้วย…
พูดกันตามตรงจะเห็นได้ว่า
กระแสของกาก้าตกลงอย่างมากในอัลบั้มใหม่นี้ (นอกจากซิลเกิ้ลเปิดตัวแล้ว
ไม่มีซิงเกิ้ลไหนในBTWติดอันดับชาร์ตที่น่าพอใจซักเพลง)
หนึ่งในปัจจัยอาจจะเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนๆที่สูงทะลุฟ้า
แต่อีกปัจจัยสำคัญนั้นคงหนีไม่พ้น ‘The Fame’ หรือ “ความดัง” ของตัวกาก้าเอง
เพราะเมื่อเธอกลายเป็น iconแล้ว ทำให้ชื่อของเธอเกลื่อนกลาดอยู่ในประชาชนคนหมู่มาก
คนเหล่านี้ชอบเธอแต่ไม่ไดทำความเข้าใจเลยว่า ผลงานของLady
gagaนั้นไม่ได้อยู่แค่ชุดแฟชั่นที่อลังการหรือบทเพลงสนุกสนาน
แต่เป็นเพราะอุดมการณ์ของเธอที่บอกความชัดเจนในการเป็น “คนชายขอบ” เป็นคนส่วนน้อย
เป็นgay เป็นgeek เด็กหลังห้องที่สู้กับอำนาจmainstreamด้วยความมั่นใจในตัวเอง เกิดเป็นนิยามของแฟนพันธุ์แท้หรือ
Little Monsters ที่ทำตามต้นแบบแนวคิดแบบ Born This Way
ของเธอ...แต่ในวันนั้นคนมี่ซื้อบัตรมาดูหมู่มากดูเหมือนจะไม่ได้เชื่อในอุดมการณ์เหล่านี้ด้วยซ้ำ พวกเขาคุยกันเสียงดัง นั่งบ้างยืนบ้าง
เดินออกไปขณะที่เธอกำลังร้องเพลง แถมมีตอนหนึ่งในคอนเสิร์ตที่กล้องถ่ายไปยังเหล่าLittle
Monterหน้าเวที ร้องไห้หน้าบูดบี้อินไปกลับเพลง
คนที่นั่งอยู่ในสเตเดียมกลับหัวเราะหือขึ้นมา จนผมอดรู้สึกไม่ไดว่า
การหัวเราะเยาะคนอื่นในคอนเสิร์ตของกาก้า
ดูเป็นพฤติกรรมผันผวนทางตรรกะยังไงชอบกลไหม?
สรุปว่า
ถ้าเกิดซื้อตั๋วยืนปรกติก็คงสนุกเต้นตีนแตกตามปกติ แต่ด้วยความที่ซื้อตั๋วนั่ง
ทำให้เห็นบรรยากาศโดยรวมของBallคืนนั้น
ที่แสดงถึงความกระอักกระอวนในการ”ขยายพื้นที่ชายขอบ”ของกาก้าและเหล่า Little
Monster
ด้วยเหตุที่ว่า
ตอนนี้ “Lady Gaga” ได้กลายมาเป็นยี่ห้ออันโก้เก๋ แต่คนที่ส่วมใส่ยี่ห้อนั้นมีไม่มากนักที่เข้าใจมันอย่างแท้จริง
(เกิดเป็นปัญหาโลกแตกของความ cool ที่หากสามารถถูกเข้าถึงได้โดยคนหมู่มาก มันจะยัง
cool อยู่หรือไม่?) ในขณะที่จำนวนผู้ติดตามของเธอเพิ่มขึ้นเป็นล้านๆ
อุดมการณ์ของเธอก็เริ่มจะดูสำคัญน้อยลงๆ
เหมือนถูกกดทับไปภายใต้ภาพลักษณ์ทางการตลาดของของเธอแทน
แน่นอนว่าบางคนก็ซื้อตั๋วมาเพื่อดูดนตรี ดูโชว์
แค่มาเอาความสนุกบันเทิงกับนักดนตรีที่มีพรสวรรค์ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร….
แต่กาก้าเองควรจะเริ่มคิดหรือไม่
ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในอณาจักรG.O.A.T.ของเธอ? เมื่อเธอเป็นศิลปินตลาดอย่างเต็มตัว
การแสดงอุดมการณ์ของเธอจะสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนทางสังคมอย่างที่เธอต้องการได้ไหม?
ในวันที่ผู้ชมคนซื้อตั๋วมาดู ไม่ได้แคร์อะไรกับคำพูดปลุกระดมของเธออีกต่อไป
กาก้าจะทำเบลอใส่คนส่วนมากและสนใจแค่แฟนเดนตายของเธอต่อไปได้รึเปล่า?
ยิ่งล่าสุด กาก้าประกาศว่าจะไปเปิดการแสดง
ณ กรุง St. Petersburg
หลังจากที่Activistsออกมารณรงค์ให้คนบอยค็อตรัสเซียเนื่องจากศาลตัดสินจำคุกในคดี
Pussy Riot
ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ของเธออาจเป็นเพียงกิมมิคทางการตลาดเท่านั้น?
หรือเราอย่าไปคิดอะไรมาก
ฟังเพลงไปสวยๆ เต้นไปเลิศๆ จบ!
No comments:
Post a Comment