ผมเป็นคนไม่เล่นกีฬา
ถ้าไม่นับการปั่นจักรยานBoris
bikeไปไหนมาไหนทีละไม่เกินสิบห้านาที(ไม่งั้นมันคิดเงินเพิ่ม)
ก็บอกได้เลยว่าน้อยครั้งนักที่จะได้เล่นเกมกรีฑาหรือยาวิเศษทั้งหลายทั้งปวง
ดังนั้นพอได้ข่าวว่าเมืองลอนดอนจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิคผมจึงรู้สึกเฉยๆ
แถมแอบกังวลด้วยซ้ำ เพราะขนาดในเวลาทำการปกติ
รถไฟใต้ดินที่นี่ก็อัดแน่นเป็นปลากระป๋อง, ล่าช้าไม่ตรงเวลา,
วิ่งได้บ้างไม่ได้บ้าง เอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่แล้วเป็นทุนเดิม
หากมีประชาชนคนสัญจรเพิ่มขึ้นอีกเป็นล้านๆก็เกรงว่าจะรับมือกันไม่ไหวแน่ๆ
แถมทางนายกเทศมนตรีBoris
Johnsonยังออกมาป่าวประกาศให้บริษัททั้งรัฐและเอกชนอนุญาติพนักงานลาพักร้อน
เพื่อลดจำนวนคนในเมืองลอนดอนอย่างสุดความสามารถ
ทำเอาชาวลอนดอนเนอร์ทั้งหลายบินหนีออกนอกประเทศไปกันเสียหมด
ช่วงเดือนที่ผ่านมาเวลาเดินไปไหนมาไหนก็เห็นแต่ชาวต่างชาติต่างเมือง
เดินเล่นถ่ายรูปกันอย่างสบายอารมณ์ บรรยากาศของเมืองที่ปกติมักจะรีบเร่งวุ่นวาย
จึงเปลี่ยนไปเป็นผ่อนคลายและสุนทรีย์น่าเที่ยวไปซะงั้น
ในช่วงเวลา”Olympic
Fever”นี้ ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนย่อมหนีไม่พ้นหลากหลายกระปวนท่าโปรโมท
‘ชาตินิยมขายตรง’ ของเหล่าองกรณ์ต่างๆที่ขนกันออกมาหวังสร้างความประทับใจ
พลางเกาะกระแสมหกรรมกีฬาครั้งนี้ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลายธง union jack
ที่ถูกพิมพ์ลงทุกผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ผ้าขี้ริ้วไปจนถึงรถแท็กซี่
หรือแม้แต่ผลิตพันธุ์จากร้านของชำถ้ามีป้ายแปะขึ้นมาว่า”made in britian”ก็กลับขายดิบขายดีขึ้นมา
นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ต่างๆก็เปิดนิทรรศการโชว์รากเหง้าทางวัฒนธรรมอังกฤษกันโครมคราม:
V&A มี British design; Innovation in the Modern Age, British Library มีงาน
Writing Britian หรือแม้กระทั้งละครเวทีใน West end ก็จัดแสดงแต่เรื่องจากUK เช่น
Matilda, Billy Elliot และ Sweedney Toddเป็นต้น
โดยทั้งหมดทั้งปวงนี้นอกจากจะเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยวแล้ว
ยังเป็นการแสดงศักยภาพในการเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมสมัยนิยมของอังกฤษอีกด้วย
แน่นอนว่าคนอังกฤษเองล้วนสังเกตเห็นถึงกระแสนิยมนี้
และแต่ละคนต่างก็มีความเห็นที่ต่างกันไป
บ้างบอกว่าเป็นเครื่องมือการต่อรองอำนาจทางการเมือง, บางคนอย่าง Morissey
อดีตนักร้องนำวงThe Smiths กลับออกมาด่าประนามวิถีการตลาดของราชวงศ์
(จากผลสำรวจแสดงว่ามีคนสนุบสนุนราชวงศ์อังกฤษมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาเกือบเท่าตัว)
แถมเอาการเสนอข่าวข้างเดียวของสื่อไปเปรียบเทียบกับช่วงการปกครองของนาซีที่เยอรมันเสียอีก…
และในขณะเดียวกัน
ก็ยังมีชาวอังกฤษอีกมากทีเดียวที่ตื่นเต้นและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์ชิ้นนี้
หนึ่งในนั้นก็คือเป็นสนิทของผม ที่ไปควานหาตั๋วดูกีฬาโอลิมปิกมาจนได้
แถมยังซื้อหลายๆใบ แจกให้พ่อให้แม่ ให้หลาน จนในที่สุดก็ตกมาถึงมือผมด้วยอีกคน
ซึ่งพอเพื่อนให้เราก็ต้องรักษาน้ำใจถ่อไปดูด้วยกัน
ปรากฏว่าตั๋วนั้นเป็นตั๋วสำหรับการแข่งขันเทนนิส
แมทช์ระหว่างทีมชาติสวิสชายคู่
มีเฟดเดอร์เรอร์เป็นตัวตั้งตัวตี สู้กับทีมชาติจากอิสราเอล…
บอกตามตรงว่า
บรรยากาศในวันนั้นทำให้จากที่ผม “ไม่อิน” กลายเป็น “เอาท์” กับกีฬาไปเลย
เพราะนอกจากจะดูรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ในช่วงหลังๆ
ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเกมมันยาวหรือเขาลุ้นกันเกินไป
แต่ทางกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายต่างตะโกนกันรุณแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะทางอิสราเอลที่นอกจากจะแหกปากร้องเพลงชาติตัวเองแล้วยังตะคอกด่าผู้คนรอบข้างอีกด้วย
ทำเอาผมสะดุ้งกันเป็นระยะๆ ไม่ได้กลัวว่าจะตีเทนนิสกันชนะไหมยังไง
แต่กลัวคนข้างๆจะยกพวกตีกันต่างหาก…
ตอนนั้นคิดไว้ว่าพอกันที
ไม่เอาแล้วกับการกีฬา แตสามวันหลังจากนั้น ผมก็ได้ไปรับงานอาสาสมัคร
สอนเด็กด้อยโอกาสที่มูลนิธิ CARIS (Christian Action and Response In Society)ในย่านHarriengeyซึ่งเป็นหนึ่งในย่านที่ยากจนที่สุดในลอนดอน
โดยงานนี้เป็นsummer campให้น้องๆมาทำกิจกรรม ภายใต้ธีมที่ร่วมสมัยที่สุด ณ
วินาทีนั้น ซึ่งก็หนีไม่พ้น มหกรรมกีฬา โอ-ลิม-ปิก (อีกแล้ว)
แต่พอได้เห็นเด็กๆที่กำพร้า ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีบ้านอยู่
หรือมีปัญหาความรุณแรงในครอบครัว ได้ปล่อยวางความเครียดในชีวิต
มาใช้เวลาสนุกๆร่วมกัน
สร้างผลงานที่เขาภูมิใจพลางเล่นเกมและเรียนรู้ที่จะเข้าสังคมไปด้วย
ทำให้ผมได้สังเกตุว่าเกมกีฬาฟอร์มยักษ์นั้นก็ไม่ได้ต่างไปจากการละเล่นของเด็กๆกลุ่มนี้เท่าไรเลย…
หนึ่งในโจทย์สำหรับเด็กๆในวันนั้นคือให้แต่ละคนเขียนนิยามของ
‘The Heart Of The Game’
ซึ่งมีผลออกมาว่าหัวใจสำคัญของมหกรรมกีฬาสำหรับแต่ละคนก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง
บางคนวาดรูปนักกีฬาคนโปรด บางคนวาดคบเพลิงที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเลิศ
บางคนวาดรูปครอบครัวตัวเองตอนดูกีฬาด้วยกันในทีวี
บางคนอธิบายถึงความฝันของตัวเองที่อยากจะประสบความสำเร็จ
บางคนทำเหรียญทองให้คุณแม่
และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่แบ่งกลุ่มไปซ้อมเต้นเป็นการแสดงพิธีเปิดในแบบพวกเขาเอง…
พอมาลองคิดดู
เอาเข้าจริงๆหัวใจของโอลิมปิกนั้นมีมากกว่าแค่กีฬาในสนาม
แต่มันสานต่อมาถึงผู้คนนอกสนาม ที่ได้เรียนรู้ถึงความฝัน ควมตั้งใจ
ความอดทนและฝึกฝนเพื่อไปให้ถึงความฝันนั้น ที่จะเป็นความภูมิใจของคนที่เรารัก
มันเป็นอุดมคติของชีวิตที่ดีที่ถูกถ่ายทอดจากกีฬานั้นต่างหาก ที่ต่อเติมกำลังใจให้เด็กๆ(และผู้ใหญ่)
ให้สู้ต่อไป ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ บนสนามการแข่งขันในชีวิตจริงนอกจอทีวีของแต่ละคน
หลังจากวันนั้นตัวผมเองก็ได้ติดเชื้อOlympic
Feverมาเต็มตัว ขนาดที่หาเสื้อทีมชาติมาใส่และติดตามดูผลการแข่งกีฬาหลายๆนัด
ยิ่งดูยิ่งซึ้งไปกับการแข่งขันอันสวยงาม
จนคิดอุปาทานไปว่าซักวันหนึ่งเราจะต้องลุกขึ้นมาเล่นกีฬาจริงๆจังๆบ้างเสียแล้ว…
จนได้ดูคู่ชกมวยไทยจ่าแก้ว
พงษ์ประยูร ต่อยกับ นักมวยจีน ซู ซิ หมิง เท่านั้นแหละ…
เป็นอันว่าปิดทีวี
เลิกดูกีฬาเหมือนเดิม
(รูปฝีมือเด็กๆครับ)
No comments:
Post a Comment